วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่14

วันพฤหัสบดี(เช้า)ที่31 มกราคม 2556

กิจกรรมการเรียนการสอน
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอแผนการสอนของกลุ่มตนเอง

กลุ่มแรก: สอนเรื่อง หน่วยดิน
วันจันทร์
เรื่องชนิดของดิน




1.ครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียนและทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนโดยใช้คำถามดังนี้
-ดินมีหลายชนิด เด็กๆรู้จักดินอะไรบ้าง
-ดินจำแนกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง
-จากนั้นให้เด็กๆช่วยสรุปชนิดของดินแต่ละประเภทเป็นตัวเลข แล้วนำไปเขียนใส่บนกระดาน

วันอังคาร
เรื่องลักษณะของดิน
1.นำภาพหรือดินแต่ละชนิดมาให้เด็กๆดูหรือสัมผัส แล้วให้เด็กแสดงความคิดเห็นเพื่อนำไปสรุปบนแผนผัง
ดินสีดำ เป็นดินดี มีอินทรีย์วัตถุมาก

ดินสีน้ำตาลแก่ หรือดินแดง ดีปานกลาง

ดินสีเหลือง เป็นดินไม่ดี มีอินทรีย์วัตถุน้อย



ดินสีขาว เป็นดินไม่ดี ไม่เหมาะต่อการเพาะปลูก

สีของดินจะบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของปริมาณอินทรีย์วัตถุที่ปะปนอยู่ และแปรสภาพเป็นฮิวมัสในดิน ดินที่มีสีดำเข้มเป็นดินที่มีฮิวมัสมาก ความอุดมสมบูรณ์ จะสูงกว่าดินที่มีสีจาง


วันพุธ
เรื่องส่วนประกอบของดิน
-ใช้คำถามเชิญชวนเช่น"เด็กๆทราบมั๊ยคะดินมีส่วนประกอบอะไรบ้าง"
-นำแผนภูมิเกี่ยวกับส่วนประกอบของดินหรือตัวอย่างดินมาให้เด็กๆดู แล้วให้เด็กจำแนกว่าดินมีส่วนประกอบอะไรบ้าง

วันพฤหัสบดี
เรื่องประโยชน์ของดิน
-ใช้คำถามเชิญชวนเช่น "เด็กๆทราบมั๊ยคะดินมีประโยชน์อะไรบ้าง"
-นำเพลงหรือนิทานมาเป็นสื่อการสอนเพื่อเชื่อมโยงเข้าไปสู่คณิตศาสตร์
1.  ประโยชน์ต่อการเกษตรกรรม ดินเป็นแหล่งผลิตอาหารของมนุษย์ ในดินจะมีอินทรีย์วัตถุ และธาตุอาหารรวมทั้งน้ำที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช
 2.  ประโยชน์ต่อการเลี้ยงสัตว์ ดินเป็นแหล่งอาหารสัตว์ไม่ว่าจะเป็นหญ้า หรือพืชตลอดจนเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์บางชนิด เช่น งู หนู แมลง ฯลฯ
 3.  เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย เป็นที่ตั้งของบ้านเรือน ก่อเกิดวัฒนธรรม และอารยรรมของชุมชนต่าง  ๆ ของโลก

  4.  เป็นแหล่งเก็บกักน้ำ น้ำซึ่งอยู่ในรูปของความชื้นในดิน ถ้ามีอยู่มากจะซึมเป็นน้ำใต้ดิน น้ำเหล่านี้จะค่อย  ๆ ซึมลงที่ต่ำ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ทำให้เรามีน้ำใช้ตลอดปี



วันศุกร์
เรื่องข้อควรระวัง
-ควรจะสอนในรูปแบบของนิทานโดยการใช้หุ่นมือเป็นตัวสร้างจินตนาการเกี่ยวกับข้อควรระวังของดิน
*******ท้ายคาบอาจารย์ได้สรุปความรู้ที่รับจากการเรียนในวันนี้บนกระดาษA4 เพื่อทดสอบว่าในชั้นเรียนนักศึกษาแต่ละคนมีความสนใจมากน้อยเพียงใด


สัปดาห์ที่13

วันพฤหัสบดี(เช้า)ที่24 มกราคม 2556
                         


อาจารย์ได้สอนเรื่อง จำนวนและการดำเนินการ ในมาตราฐาน 6มาตรฐาน มีหัวข้อดังนี้

- การใช้จำนวนจากการนับ
- การอ่าน เขียน เลขฮินดูอาราบิกและไทย
- เปรียบเทียบจำนวน
- เรียงลำดับตัวเลข

         วันนี้อาจารย์มีประชุมด่วน ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนองานกลุ่มในสัปดาห์หน้า โดยให้กลุ่มละ 20 นาที อาจารย์บอกว่า ในการสอนเด็กหัวข้อ "ประโยชน์" ควรมีเพลงและนิทานเสริมไปด้วย


สัปดาห์ที่12

วันพฤหัสบดี(เช้า)ที่17 มกราคม 2556



กิจกรรมการเรียนการสอน

-อาจารย์ให้นักศึกษาไปอ่านงานวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่แต่ละคนได้ลิ้งค์ใส่ในบล็อกของตนเอง แล้วนำไปสรุป คนละ 1เรื่อง 
-สร้างแผนการการสอนที่ตนเองได้รับมอบหมายโดยอาจารย์ได้แนะนำให้ศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมการสอนในหนังสือคู่มือมาตรฐานคณิตศาสตร์เพิ่มเติมและนำมาใส่ในแผนของตนเองให้มีความสมบูรณ์ถูกต้องและปฏิบัติได้จริงหลักในการสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กเรียนจากประสบการณ์ตรงจากของจริง ดังนั้นการสอนจะต้องหาอุปกรณ์ที่เป็นของจริงให้มากที่สุด และต้องสอนจากรูปธรรมไปหานามธรรม ดังนี้ 
1.ใช้ของจริง เมื่อจะให้เด็กนับหรือเปรียบเทียบสิ่งของควรใช้ของจริง
2. เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ๆ ใกล้ตัวเด็ก จากง่ายไปหายาก3. สร้างความเข้าใจและรู้ความหมายมากกว่าให้เด็กท่องจำ4. ฝึกให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็ก เพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม5. จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนาน และได้รับความรู้ไปด้วย เช่น   
 
 5.1 เล่นเกมต่อภาพ จับคู่ภาพ ต่อตัวเลข    
 5.2 เล่นต่อบล็อก ซึ่งมีรูปร่างและขนาดต่าง ๆ   
 5.3 การเล่นในมุมบ้าน เล่นขายของ     
 5.4 แบ่งสิ่งของเครื่องใช้ แลกเปลี่ยนสิ่งของกัน  
 5.5 ท่องคำคล้องจองเกี่ยวกับจำนวน     
 5.6 ร้องเพลงเกี่ยวกับการนับ    
  5.7 เล่นทายปัญหาและตอบปัญหาเชาวน์ดังนั้น  หลักการจัดประสบการณ์ทาง




สัปดาห์ที่ 11


วันพฤหัสบดี(เช้า)ที่10 มกราคม 2556

                                                     
·                     อาจารย์ให้เขียนสาระสำคัญของแต่ละวัน มาตรฐานการเรียนรู้ที่จะนำมาใช้กับเด็ก และนำมาบูรณาการอย่างไรโดยใช้เทคนิควิธีทำโดยใช้ผังความคิดหรือMind Mapping ในการแตกสาระการเรียนรู้ในแต่ละวัน  และอาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับมาตรฐานคณิตศาสตร์ซึ่งมีทั้งหมด 6 มาตรฐาน

การที่เด็กได้ลงมือกระทำนั้นเป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ทำให้เด็กเกิดประสบการณ์สำคัญ
พัฒนาการเด็กปฐมวัยแรกเกิดถึง6ปี
    0-2 ใช้ประสาทสัมผัส
    2-4 เริ่มพูดสื่อสาร
    4-6พูดยากขึ้น และมีเหตุผล(ความคิดเชื่อมโยง)


               มาตรฐานการเรียนรู้
















สัปดาห์ที่ 10


วันพฤหัสบดี(เช้า)ที่ 3  มกราคม 2556

กิจกรรมการเรียนการสอน
>>>อาจารย์ให้นำกระดาษลังของแต่ละคนที่เตรียมมา นำไปเขียนชื่อ
>>>อาจารย์นำกระดาษลังมาสาธิตการวัดหาพื้นที่ของโทรทัศน์ โดยใช้กระดาษลังขนาด (4x4, 6x6, 8x8) โดยใช้ตารางตารางนิ้วเป็นหน่วยการวัด
>>>>การนำการดาษลังมาวัดหาพื้นที่ของโทรทัศน์สามารถนำไปสอนในเรื่องดังต่อไปนี้
  1. รูปทรง
  2. หาพื้นที่
  3. การวัด เพื่อหาค่า
  4. การนับ
  5. จำนวน
  6. ตัวเลข
  7. เปรียบเทียบ
  8. จับคู่ 1 : 1
  9.จัดประเภท                                                                                                                                   10.เศษส่วน  
งาน
ให้นำกระดาษลังขนาด (4x4, 6x6, 8x8)  ที่แต่ละคนตัดมา แล้วไปจับคู่กับเพื่อน เพื่อนำกระดาษลังไปผลิตสื่อการสอน 


    


***งานจากสัปดาห์ที่  7****           สร้างสาระการเรียน  >>>  สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก >>เรื่อง   ครอบครัว


วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 9



วันพฤหัสบดี(เช้า)ที่ 27 ธันวาคม 2555

กิจกรรมการเรียนการสอน

               >>>>>ไม่มีการเรียนการสอน<<<<<
หมายเหตุ
              >>>>สร้างสื่อการสอนคณิตศาสตร์ และทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เรียบร้อย<<<<


สัปดาห์ที่8



วันพฤหัสบดี (เช้า)  ที่ 20 ธันวาคม 2555

กิจกรรมการเรียนการสอน

>>>>>
ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นช่วงสอบกลางภาค ภาคเรียนที่ 2<<<<<

สัปดาห์ที่7



วันพฤหัสบดี(เช้า)ที่ 13 ธันวาคม 2555


กิจกรรมการเรียนการสอน
-อาจารย์ให้นักศึกษาในชั้นเรียนอธิบายความหมายของ คู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
คู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คือ มาตรฐานการเรียนรู้, เป็นคู่มือในการจัดการเรียนรู้ 
ความหมายของมาตรฐาน
-สิ่งที่จะทำให้สิ่งนั้นๆ มีคุณภาพ
- สิ่งที่เป็นแนวทางในกรศึกษา
คู่มือกรอบมาตรฐาน   เป็นตัวช่วยที่อธิบายแนวทางในการปฏิบัติและบอกความน่าเชื่อถือ
สสวท. คือ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เครื่องมือการเรียนรู้ในหลักสูตรการเรียนรู้คณิตศาสร์สำหรับเด็ก คือ ภาษา,คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 
*ถ้าจะทำการให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนของเด็กต้องใช้ สื่อการเตรียมความพร้อมด้านภาษาให้กับเด็ก
กิจกรรมในชั้นเรียน
       อาจารย์สั่งงานวิเคราะห์ข้อมูล โดยให้จัดกลุ่มๆละ 5 คน เพื่อนำข้อมูลจากหัวข้อที่แต่ละกลุ่มได้รับไป และนำไปจัดทำในรูปแบบของ Mind Mapping เพื่อนำไปจัดทำหน่วยการเรียนใน 1 สัปดาห์ 
หัวข้อมีดังนี้

  1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
  2 .เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
  3. ธรรมชาติรอบตัว
  4. สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก
หัวข้อที่กลุ่มของดิฉันได้รับ  คือ สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก






หน่วยครอบครัว