วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่6


วันพฤหัสบดี(เช้า)ที่ 6 ธันวาคม 2555

กิจกรรมการเรียนการสอน

     - อาจารย์ให้นำกล่องของแต่ละคนที่เตรียมมา ช่วยกันสร้างผลงาน โดยให้ช่วยกันวางแผนและใช้เทปใสประกอบกล่องเข้าด้วยกันให้เป็นรูปร่างตามที่ได้ปรึกษาไว้ภายกลุ่มของตนเองไว้แล้ว

 :ภาพกล่องดิฉัน

   ขั้นตอนการจัดทำกิจกรรม
     
แบบที่ 1 ให้นำกล่องมาประกอบอย่างอิสระ โดยจะมีข้อตกลงคือ ขั้นตอนการประกอบกล่องให้สมาชิกแต่ละคนช่วยกันประกอบกล่องเข้าด้วยกันอย่างอิสระ และประกอบไปเรื่อยๆจนสำเร็จเป็นรูปร่างตามต้องการ
แบบที่ที่ 2 ให้นำกล่องมาประกอบกันโดยให้สมาชิกภายในกลุ่มช่วยกันวางแผน และปรึกษากันเกี่ยวกับการประกอบกล่องแต่ละใบให้เป็นรูปร่างตามต้องการ

     กลุ่มของดิฉันได้ประกอบกล่องแต่ละใบในแบบที่ 2


  
 *หนอนน้อยเจ้าสำราญ*
 สรุปการทำกิจกรรม
              ได้สร้างผลงานเป็นของตนเองอย่างอิสระ และได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นกับสมาชิกภายในกลุ่ม    ทำให้เกิดความสามัคคี สามารถยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และส่งผลให้การทำงานประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างที่คาดหวังไว้

>ชั่งโมงสุดท้ายอาจารย์ได้สั่งงานกลุ่มให้จัดทำสิ่งประดิษฐ์ โดยใช้หลักคณิตศาสตร์ในการจัดทำชิ้นงานจากวัสดุเหลือใช้ ดังหัวข้อต่อไปนี้
   กลุ่มที่1. กล่องแบรนด์
   กลุ่มที่2. แกนกระดาษทิชชู (กลุ่มดิฉัน)
   กลุ่มที่3. ฝาขวดน้ำ

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่5




วัน พฤหัสบดี (เช้า)  ที่ 29 พฤศจิกายน 2555
  
                                                                                                                                                                                                  กิจกรรมการเรียนการสอน
           อาจารย์ถามถึงเนื้อหาในหนังสือคู่มือกรอบมาตรฐาน การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยว่า มีอะไรบ้าง ? เนื้อหาในหนังสือจะเป็นเกี่ยวกับ เนื้อหาสาระ แนวทางในการจัดประสบการณ์และกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น  และบรรลุตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
       หลังจากนั้นอาจารย์ได้พูดเชื่อมโยงไปถึงเรื่อง ข่อบข่ายคณิตศาสตร์ 
    ของอาจารย์นิตยา  ประพฤติกิจ   ที่ท่านได้สั่งงานกลุ่มเกี่ยวกับหัวข้อดังกล่าวไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อให้เราได้นำงานที่ทำมานำเสนอใหม่ โดยใช้หัวข้อ สัตว์ และผัก
   จับคู่  12  กลุ่มแรกได้หัวข้อ  ขอบข่ายคณิตศาสตร์เกี่ยวกับ   หน่วยสัตว์
    กลุ่มที่เหลือ  ได้หัวข้อขอบเขตคณิตศาสตร์เกี่ยวกับ   หน่วยผัก

คู่ของดิฉันได้หัวข้อขอบข่ายคณิตศาสตร์เกี่ยวกับ   หน่วยสัตว์
สัปดาห์หน้าอาจารย์ให้นำกล่องมาคนละ1ใบ
สัปดาห์หน้าอาจารย์ให้นำกล่องมาคนละ1ใบ 
ในข้อที่ 9 เรื่องเซต
สมาชิกในกลุ่ม

น.ส. สุภาภรณ์  ชุ่มชื่น  เลขที่ 12

น.ส. ศิวิมล        มณีศรี เลขที่ 24


หน่วยสัตว์



1.  การนับ     นับจำนวนสัตว์ในสวนสัตว์ตามประเภท
  2.  ตัวเลข     การให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวันด้วยการให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยวกับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง แล้วเอามาเขียนแทนค่าหรือจัดเรียงลำดับ
  4. การจับคู่   การจับคู่สัตว์บกสัตว์น้ำได้ทั้งทักษะทางคณิตและวิทยาศาสตร์ การจับคู่ตัวเลขกับตัวเลขโดยการคัดออกที่ละคู่ๆ จับคู่รูปทรง จับคู่ตัวเลขกับจำนวน และจับคู่จับนวนกับจำนวน
  5. การจัดประเภท  นำสัตว์บกและสัตว์น้ำมารวมกัน แต่ต้องมีเกณฑ์ในการจัดว่าสัตว์บกเป็นยังไงใช่หรือไม่อย่างไร
  6. การเปรียบเทียบ  ให้เด็กมาดูว่าสัตว์บกกับไม่ใช่สัตว์บกอันไหนมีมากกว่ากัน
  7. การจัดลำดับ   จัดลำดับสัตว์ที่มีจำนวนน้อยสุดไปหาสัตว์ที่มีจำนวนมากสุด โดยใช้ การวัดแล้วเปรียบเทียบ แล้วจัดลำดับแล้วเขียนตัวเลขกำกับ
  8.  รูปทรงและเนื้อที่   หาพื้นที่ของกรงสัตว์ ลานช้าง เป็นรูปทรงอะไร
  9.  การวัด   วัดปริมาณอาหาร หรือ ที่อยู่ของสัตว์
 10.  เชต    เช่นการจัดกลุ่มเซตของการเลี้ยงนกว่ามีอะไรบ้าง กรง หัวอาหาร น้ำ 
 11.  เศษส่วน   สอนเรื่องจำนวนเต็ม การแบ่งครึ่งสองส่วนเท่าๆกันโดยเน้นเกี่ยวกับจำนวนทั้งหมดให้เด็กเห็นก่อน ด้วยการลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีมโนภาพเกี่ยวกับครึ่ง ( ½ )
 12.   การทำตามแบบ   สร้างแบบ และ ทำตามแบบ
 13.   การอนุรักษ์ให้คงที่    ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม

หน่วยผัก

 1. การนับ  =  นับผักในตะกร้า
     2. ตัวเลข  =  เรียงผักที่นับออกจากตะกร้า                                                                  
     3. จับคู่  =  จำนวนผัก กับ เลขฮินดูอารบิก
     4. จัดประเภท  =  แยกผักใบเขียว
     5. การเปรียบเทียบ  =  จากขนาด  รูปทรง จำนวน
     6. การจัดลำดับ  =  วัดผัก  โดยการเปรียบเทียบ  1:1
     7. รูปทรงและพื้นที่  =  ตะกร้าสี่เหลี่ยม ใส่แครอทได้กี่หัว

วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่4

  
วันพฤหัสบดี(เช้า) ที่ 22 พฤศจิกายน 2555


กิจกรรม
อาจารย์ให้ทำบัตรชื่อ








เพื่อจะใช้ในการจัดทำตัวอย่างของการแบ่งกลุ่ม และเป็นแนวทางในการสอนเด็กปฐมวัยเกี่ยวกับการแบ่งกลุ่ม โดยอาจารย์จะแบ่งจากเวลาการมาเรียนของนักนักเรียนในแต่ละช่วงเวลา 
กลุ่มที่ 1 ในช่วงเวลา ก่อน 08.30 น.
กลุ่มที่ 2 ในช่วงเวลาตั้งแต่08.30 น. เป็นต้นไป
ลักษณะของการแบ่งจะแบ่งตามเกณฑ์เพียงหนึ่งเกณฑ์
จากนั้นใช้จะเลขสัญลักษณ์เป็นตัวแทนค่า จำนวน 




 นิตยา   ประพฤติกิจ.2541:17-19


วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 3


 วันพฤหัสบดี (เช้า)  ที่ 15 พฤศจิกายน 2555

กิจกรรมการเรียนการสอน

อาจารย์ให้จับกลุ่มๆละ 3 คน  เพื่อนำเนื้อหาต่างๆของแต่ละคนที่ได้ไปสืบค้นมาในสัปดาห์ที่แล้ว มาอ่านแล้วสรุปใจความ จากนั้นนำเนื้อหาที่ได้ ไปเขียนลงบนกระดาษที่อาจารย์แจกให้ กลุ่มละ 1 แผ่น  ดังหัวข้อต่อไปนี้
   1. ความหมายของคณิตศาสตร์        
   2. จุดมุ่งหมาย หรือ เป้าหมายการสอนคณิตศาสตร์       
   3. ทฤษฎี หรือ หลักการสอนคณิตศาสตร์    
   4. ขอบข่าย หรือ เนื้อหาหลักสูตรของคณิตศาสตร์

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์
   1.  เลือกวิธีให้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ และความสามารถของผู้เรียน
   2.  ตรรกศาสตร์  เซต  และระบบจำนวน

เนื้อหาที่สรุปภายในกลุ่ม

ความหมายของคณิตศาสตร์
               
          " คณิตศาสตร์ไม่ใช่เลขคณิต  พีชคณิต  ตรีโกณมิติ และเรขาคณิตเพียงอย่างเดียว แต่คณิตศาสตร์มีความหมายที่กว้างกว่านั้น คณิตศาสตร์เป็นศาสตร์แห่งความคิดคำนวณ และเป็นหัวใจของการเรียน การสอนคณิตสาสตร์ ซึ่งสอนให้ผู้เรียนคิดจนเกิดการรู้แจ้ง  รู้จริง  คิดเป็นและคิดเร็ว  เพื่อนำไปวิเคราะห์สภาพการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และเลือกใช้กลวิธีให้เหมาะสมและสอดคล้องกับธรรมชาติของคณิตศาสตร์ "
                                      
   ข้อความข้างต้นบางส่วนอ้างอิงมาจาก  :  หนังสือคณิตสาสตร์สำหรับครู
   ผู้แต่ง   :  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มยุรี  ณะฤทธิ์

   1.  เพื่อให้เข้าใจพื้นฐานของคณิตศาสตร์
   2.  เพื่อให้เด็กฝึกฝนทักษะทางคณิตศาสตร์และมีทักษะในการคิดคำนวณ
   3.  เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง
   4.  เพื่อให้เด็กรู้จักการใช้กระบวนการในการคิดหาคำตอบ
   5.  เพื่อรู้คุณค่าของคณิตศาสตร์ และสามารถนำความรู้และเทคนิคต่างๆไปใช้ในชีวิตประจำวันได้


หลักการสอนคณิตศาสตร์

   1.  ให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
   2.  ในการจัดการเรียนการสอนเน้นการสอนจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม
   3.  สร้างความเข้าใจและให้เด็กรู้ความหมาย มากกว่าที่จะให้เด็กท่องจำ
   4.  มีวิธีการสอนในหลากหลายรูปแบบ

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์

   1.  ทฤษฎีลดความน่าจะเป็น
   2.  ทฤษฎีการตัดสินใจ
   3.  การคิดคำนวณ
   4.  ฟังก์ชั่น
   5.  การเปรียบเทียบและการจัดลำดับ


สมาชิกกลุ่ม

               นางสาวอลิสา              มานะ                     เลขที่  13
               นางสาวศิวิมล              มณีศรี                    เลขที่  24
               นางสาวประทานพร      สภากาญจนาพร    เลขที่ 28

**อาจารย์สอนวิธีการฝึกให้เด็กปฐมวัยร้องเพลงโดยใช้วิธี
     ให้เด็กพูดตาม> ฟังเนื้อหา> ให้เด็กรู้จักเกี่ยวกับคำที่ถูกต้องก่อนที่จะสอนให้เด็กร้องเพลง

ตัวอย่างเนื้อหาบทเพลงเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม








หมายเหตุ

}}อาจารย์ตรวจงานเดี่ยว พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับ เนื้อหาในงาน วิธีสืบค้น และสิ่งที่ควรสืบค้นเพิ่มเติม เช่น ทุกครั้งที่เราไปสืบค้นหนังสือของใครมา  เราควรใส่อ้างอิง
(ชื่อผู้แต่ง:(ปีที่พิมพ์): ชื่อเรื่อง: ชื่อหนังสือ: เลขหน้าที่อ้างอิง:เลขหมู่หนังสือ)
**ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่จำเป็นมากทั้งต่อตัวเราและต่อบุคคลอื่น ที่สนใจเกี่ยวกับเนื้อหา  และต้องการที่จะสืบค้นเนื้อหาต่อจากเรา อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดทำบล็อกว่าควรนำลิงค์วิจัยที่เกี่ยวกับเนื้อหา ในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยทั้ง 5 บท ในงานวิจัยใส่ไปในบล็อกของเราด้วย


รูปถ่ายการทำงานกลุ่ม


วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่2



วันพฤหัสบดี (เช้า)  ที่ 8 พฤศจิกายน 2555

อาจารย์ให้สังเกตสิ่งที่อยู่ภายในห้องเรียนในขณะนั้น สิ่งใดที่เป็นคณิตศาสตร์บ้าง

         เงิน  >> ค่าของจำนวนเงิน

      ประตู  >>จำนวน ขนาด

    กระเป๋า >> น้ำหนัก ขนาด ความจุ ความคงทน แบบ รูปร่าง รูปทรง

หลอดไฟ >> จำนวน 



***เมื่อมีการนับเข้ามาเกี่ยวข้องจึงจะทำให้เรารู้ค่าของจำนวนนั้นๆ เมื่อรู้ค่าแล้วจึงเขียนเป็นตัวเลข

      ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของคณิศาสตร์ที่เราเรียกกันว่าฮินดูอารบิก



สื่่อ


หลักการเลือกสื่อการสอน 


1. สื่อนั่นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน 

2. เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย  น่าสนใจ และเป็นสื่อที
3. เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน 
4. สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้ มีวิธีไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป 

5. ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนและเป็นจริง 

6. มีราคาไม่แพงจนเกินไป หรือถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน

7. ใช้สื่อที่มีมิต จับต้องได้ 

       สรุปได้ว่า การจะเลือกสื่อมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องมีความรู้ความสามารถและทักษะในเรื่องต่างๆดังนี้

1. วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมและจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอน

2. จุดมุ่งหมายในการนำสื่อมาใช้ประกอบหรือร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อใช้นำ

       บทเรียน ใช้ในการประกอบคำอธิบาย ใช้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์แก่ผู้เรียน หรือใช้เพื่อสรุปบทเรียน
3.ต้องเข้าใจลักษณะเฉพาะของสื่อชนิดต่างๆ แต่ละชนิดว่า สามารถเร้าความสนใจและให้ความหมายต่อประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียนได้อย่างไรบ้าง เช่น หนังสือเรียน และสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆใช้เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานและอ้างอิง
4.ต้องมีความรู้เกี่ยวกับแหล่งของสื่อการเรียนการสอนทั้งภายในและภายนอกสถาบัน  การศึกษาสื่อบางอย่างจะคุ้มค่าในการผลิตเองหรือไม่ หรืออาจหายืมได้ที่ไหนบ้าง


การทำงานของสมอง

  รับความรู้มา>>ซึมซับ>>ได้ข้อมูล>>รับรู้



งาน


1.สำรวจรายชื่อหนังสือที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ โดยหา>>ชื่อหนังสือ/ชื่อผู้แต่ง/ปีพ.ศ./เลขหมู่หนังสือ

2.ความหมายของคณิตศาสตร์ โดยหา >>ความหมาย/ชื่อผู้เขียน/หน้า/ชื่อหนังสือ/ปีพ.ศ.ที่เขียน

3.หาจุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์

4.ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์หรือจะเป็นวิธีการสอนก็ได้

5.หาขอบข่ายของคณิตศาสตร์ว่ามีอะไรบ้าง

**หัวข้อต่างๆเหล่านี้อาจารย์ให้ไปค้นหาข้อมูลที่ห้องสมุด จากนั้นนำข้อมูลทั้งหมดที่สืบค้นได้ ไปเขียนใส่กระดาษที่อาจารย์แจกให้ หลังจากนั้นนำงานที่ทำ ไปส่งกับอาจารย์ ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555    



วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่1



วัน พฤหัสบดี (เช้า)  ที่ 1พฤศจิกายน 2555

>พัฒนาการ คือการเติบโตไปตามขั้นบันไดเป็นลำดับต่อเนื่อง เช่น การพลิกตัว คว่ำ คืบ คลาน นั่ง ยืน
                    เดิน วิ่ง
>เขียนประโยคในหัวข้อ คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคืออะไร มา 2ประโยค