วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่5




วัน พฤหัสบดี (เช้า)  ที่ 29 พฤศจิกายน 2555
  
                                                                                                                                                                                                  กิจกรรมการเรียนการสอน
           อาจารย์ถามถึงเนื้อหาในหนังสือคู่มือกรอบมาตรฐาน การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยว่า มีอะไรบ้าง ? เนื้อหาในหนังสือจะเป็นเกี่ยวกับ เนื้อหาสาระ แนวทางในการจัดประสบการณ์และกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น  และบรรลุตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
       หลังจากนั้นอาจารย์ได้พูดเชื่อมโยงไปถึงเรื่อง ข่อบข่ายคณิตศาสตร์ 
    ของอาจารย์นิตยา  ประพฤติกิจ   ที่ท่านได้สั่งงานกลุ่มเกี่ยวกับหัวข้อดังกล่าวไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อให้เราได้นำงานที่ทำมานำเสนอใหม่ โดยใช้หัวข้อ สัตว์ และผัก
   จับคู่  12  กลุ่มแรกได้หัวข้อ  ขอบข่ายคณิตศาสตร์เกี่ยวกับ   หน่วยสัตว์
    กลุ่มที่เหลือ  ได้หัวข้อขอบเขตคณิตศาสตร์เกี่ยวกับ   หน่วยผัก

คู่ของดิฉันได้หัวข้อขอบข่ายคณิตศาสตร์เกี่ยวกับ   หน่วยสัตว์
สัปดาห์หน้าอาจารย์ให้นำกล่องมาคนละ1ใบ
สัปดาห์หน้าอาจารย์ให้นำกล่องมาคนละ1ใบ 
ในข้อที่ 9 เรื่องเซต
สมาชิกในกลุ่ม

น.ส. สุภาภรณ์  ชุ่มชื่น  เลขที่ 12

น.ส. ศิวิมล        มณีศรี เลขที่ 24


หน่วยสัตว์



1.  การนับ     นับจำนวนสัตว์ในสวนสัตว์ตามประเภท
  2.  ตัวเลข     การให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวันด้วยการให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยวกับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง แล้วเอามาเขียนแทนค่าหรือจัดเรียงลำดับ
  4. การจับคู่   การจับคู่สัตว์บกสัตว์น้ำได้ทั้งทักษะทางคณิตและวิทยาศาสตร์ การจับคู่ตัวเลขกับตัวเลขโดยการคัดออกที่ละคู่ๆ จับคู่รูปทรง จับคู่ตัวเลขกับจำนวน และจับคู่จับนวนกับจำนวน
  5. การจัดประเภท  นำสัตว์บกและสัตว์น้ำมารวมกัน แต่ต้องมีเกณฑ์ในการจัดว่าสัตว์บกเป็นยังไงใช่หรือไม่อย่างไร
  6. การเปรียบเทียบ  ให้เด็กมาดูว่าสัตว์บกกับไม่ใช่สัตว์บกอันไหนมีมากกว่ากัน
  7. การจัดลำดับ   จัดลำดับสัตว์ที่มีจำนวนน้อยสุดไปหาสัตว์ที่มีจำนวนมากสุด โดยใช้ การวัดแล้วเปรียบเทียบ แล้วจัดลำดับแล้วเขียนตัวเลขกำกับ
  8.  รูปทรงและเนื้อที่   หาพื้นที่ของกรงสัตว์ ลานช้าง เป็นรูปทรงอะไร
  9.  การวัด   วัดปริมาณอาหาร หรือ ที่อยู่ของสัตว์
 10.  เชต    เช่นการจัดกลุ่มเซตของการเลี้ยงนกว่ามีอะไรบ้าง กรง หัวอาหาร น้ำ 
 11.  เศษส่วน   สอนเรื่องจำนวนเต็ม การแบ่งครึ่งสองส่วนเท่าๆกันโดยเน้นเกี่ยวกับจำนวนทั้งหมดให้เด็กเห็นก่อน ด้วยการลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีมโนภาพเกี่ยวกับครึ่ง ( ½ )
 12.   การทำตามแบบ   สร้างแบบ และ ทำตามแบบ
 13.   การอนุรักษ์ให้คงที่    ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม

หน่วยผัก

 1. การนับ  =  นับผักในตะกร้า
     2. ตัวเลข  =  เรียงผักที่นับออกจากตะกร้า                                                                  
     3. จับคู่  =  จำนวนผัก กับ เลขฮินดูอารบิก
     4. จัดประเภท  =  แยกผักใบเขียว
     5. การเปรียบเทียบ  =  จากขนาด  รูปทรง จำนวน
     6. การจัดลำดับ  =  วัดผัก  โดยการเปรียบเทียบ  1:1
     7. รูปทรงและพื้นที่  =  ตะกร้าสี่เหลี่ยม ใส่แครอทได้กี่หัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น